• star

    แอมัลเธีย

    แอมัลเธีย (อังกฤษ: Amalthea, กรีก: Αμάλθεια) บ้างเรียก จูปิเตอร์ 5 เป็นดาวบริวารของดาวพฤหัสบดี มีระยะทางห่างจากดาวแม่เป็นอันดับที่ 3 ค้นพบเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2435 โดยเอดวาร์ด อีเมอร์สัน บาร์นาร์ดและได้ตั้งชื่อตามแอมัลเธียที่เป็นนิมฟ์ในเทพปกรณัมกรีก[6] joker123 แอมัลเธียอยู่ในวงโคจรใกล้ดาวพฤหัสบดีและอยู่ที่ในขอบชั้นนอกของชั้นวงแหวนเบาบางแอมัลเธีย (Amalthea Gossamer Ring) ซึ่งเป็นวงแหวนที่เกิดขึ้นจากการสะสมของฝุ่นที่หลุดออกจากพื้นผิวของแอมัลเธีย[7] เมื่อมองจากพื้นผิวของแอมัลเธียจะปรากฏภาพอันน่าอัศจรรย์ใจของดาวพฤหัสบดีขนาดใหญ่ โดยปรากฏขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางราว 46.5 องศา[b] แอมัลเธียเป็นดาวบริวารขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาดาวบริวารชั้นในของดาวพฤหัสบดี แอมัลเธียมีรูปร่างที่ไร้รูปทรงและมีสีแดง นักวิทยาศาสตร์คาดว่าแอมัลเธียประกอบขึ้นจากน้ำแข็งที่เป็นรูพรุนซึ่งเจือด้วยสสารอื่น ๆ ที่ยังไม่ทราบแน่ชัด บนพื้นผิวพบร่องรอยของหลุมอุกกาบาตและเทือกเขาสูง[2] มีการถ่ายภาพแอมัลเธียได้ใน พ.ศ. 2522 และ พ.ศ. 2523 โดยยานอวกาศวอยเอจเจอร์ 1 และ 2 และต่อมาในช่วงทศวรรษ 1990 โดยยานอวกาศกาลิเลโอ การค้นพบแอมัลเธียค้นพบในวันที่ 9 เดือนกันยายน พ.ศ. 2435 โดยเอดวาร์ด อีเมอร์สัน บาร์นาร์ดซึ่งใช้กล้องโทรทรรศน์หักเหแสงขนาด 36 นิ้ว (91 เซนติเมตร) ในหอดูดาวลิก[6][8] แอมัลเธียเป็นดาวบริวารดวงสุดท้ายที่ค้นพบจากการสังเกตภาพโดยตรง (ตรงข้ามกับการสังเกตจากภาพถ่าย) และเป็นดาวบริวารดวงแรกภายหลังจากที่กาลิเลโอ กาลิเลอีค้นพบดวงจันทร์ของกาลิเลโอใน พ.ศ. 2153[9] สล็อต ชื่อดวงจันทร์บริวารดวงนี้ได้รับชื่อตามเทพเจ้าจากเทพนิยายกรีกชื่อแอมัลเธียที่เป็นผู้อนุบาลซูส (เทียบได้กับจูปิเตอร์ในเทพปกรณัมโรมัน) ในวัยทารกด้วยนมแพะ[10] การเรียกขานลำดับตามเลขโรมันของดวงจันทร์นี้คือจูปิเตอร์ 5 ชื่อแอมัลเธียไม่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์ดาราศาสตร์สากลจนกระทั่ง พ.ศ. 2518[11][12] แม้ว่าชื่อนี้จะใช้อย่างไม่เป็นทางการเป็นเวลาหลายทศวรรษก็ตาม ชื่อนี้ได้รับการแนะนำครั้งแรกโดยกามีย์ ฟรามมาร์ยง (Camille Flammarion) [13] ก่อน พ.ศ. 2518 ชื่อแอมัลเธียไม่ได้ใช้อย่างกว้างขวางดังเช่น จูปิเตอร์ 5[14] วงโคจรแอมัลเธียโคจรรอบดาวพฤหัสบดี โดยมีระยะทางห่างจากดาวพฤหัสบดี 181 000 กิโลเมตร (2.54 เท่าของรัศมีของดาวพฤหัสบดี) วงโคจรของแอมัลเธียเป็นวงรีโดยมีความเยื้อง 0.003 และทำมุมเอียง 0.37° กับเส้นศูนย์ของดาวพฤหัสบดี[1] ค่าความเยื้องและมุมเอียงแม้ว่าจะมีขนาดเพียงเล็กน้อยก็ตามเป็นความผิดปกติของวงโคจรของดาวบริวารชั้นในซึ่งเป็นอิทธิพบจากดวงจันทร์ของกาลิเลโอดวงในสุดคือไอโอ: ในอดีตที่ผ่านมาแอมัลเธียได้ผ่านการสั่นพ้องของวงโคจรกับไอโอหลายต่อหลายครั้งจนทำให้เกิดความเยื้องและมุมเอียงดังเช่นปัจจุบัน (การสั่นพ้องของวงโคจรเกิดขึ้นเมื่องอัตราส่วนของคาบการโคจรของวัตถุสองชิ้นเป็นอัตราส่วนจำนวนเต็ม เช่น m:n) [7] วงโคจรของแอมัลเธียอยู่ใกล้กับบริเวณขอบด้านนอกของชั้นวงแหวนเบาบางแอมัลเธียซึ่งเป็นวงแหวนที่เกิดขึ้นจากการสะสมของฝุ่นที่หลุดออกจากพื้นผิวของแอมัลเธีย[15] สล็อตออนไลน์ ลักษณะทางกายภาพพื้นผิวของแอมัลเธียเป็นสีแดงเข้ม (เกิดเนื่องจากความสามารถในการสะท้อนแสงที่มากขึ้นตามความยาวคลื่นแสงจากสีเขียวไปยังความยาวคลื่นแสงใกล้แสงอินฟราเรด)…