-
ภาวะเรือนกระจก
ดวงอาทิตย์แผ่พลังงานออกมาในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งมีความยาวคลื่นต่างๆ คลื่นสั้นมีพลังงานสูงกว่าคลื่นยาว บรรยากาศของโลกทำหน้าที่ปกป้องรังสีที่มีความยาวคลื่นสั้นกว่าแสงที่ตามองเห็น ไม่ให้ลงมาทำอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตบนพื้นโลกได้ โมเลกุลของแก๊สไนโตรเจนและออกซิเจนในบรรยากาศชั้นบนสุด joker123 ดูดกลืนรังสีแกมมาและรังสีเอ็กซ์ จนทำให้อะตอมของแก๊สมีอุณหภูมิสูงและแตกตัวเป็นประจุ รังสีอุลตราไวโอเล็ตสามารถส่องผ่านบรรยากาศชั้นบนลงมา แต่ถูกดูดกลืนโดยแก๊สโอโซนในชั้นสตราโตสเฟียร์ที่ระยะสูงประมาณ 48 กิโลเมตร แสงแดดหรือแสงที่ตามองเห็นสามารถส่องลงมาถึงพื้นโลก รังสีอินฟราเรดถูกดูดกลืนโดยแก๊สเรือนกระจก เช่น ไอน้ำและคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นโทรโปสเฟียร์ ส่วนคลื่นไมโครเวฟและคลื่นวิทยุในบางความถี่สามารถส่องทะลุชั้นบรรยากาศได้ สมดุลพลังงานของโลก พลังงานที่โลกได้รับจากดวงอาทิตย์ 100% ถูกสะท้อนกลับสู่อวกาศ 30% พลังงานส่วนที่เหลือถูกดูดกลืนโดยพื้นผิวโลกแล้วแผ่ออกมาในรูปรังสีอินฟราเรด จากพื้นผิวโลก 58% และจากบรรยากาศ 12% ดังที่แสดงใน พลังงานที่โลกได้รับจากดวงอาทิตย์ โลกได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์ในรูปของรังสีต่างๆ ร้อยละ 95 ของรังสีที่แผ่จากดวงอาทิตย์มีความยาวคลื่น 0.1 – 2.5 ไมโครเมตร (100 นาโนเมตร – 2,500 นาโนเมตร) ในจำนวนนี้อยู่ในรูปของรังสีอุลตราไวโอเล็ต 7%, 4% แสงที่ตามองเห็น 43% รังสีอินฟราเรดใกล้ (Near Infrared) 49% และรังสีอื่นๆ 1% ทั้งนี้รังสีที่มีความเข้มที่สุดมีความยาวคลื่น 500 นาโนเมตร สล็อต เมื่อโลกได้รับรังสีจากดวงอาทิตย์ก็จะดูดกลืนพลังงานไว้ และแผ่รังสีออกมาในรูปของรังสีอินฟราเรด ซึ่งมีความยาวคลื่น 2.5 – 30 ไมโครเมตร โดยมีความยาวคลื่นที่ให้พลังงานมากที่สุด อยู่ที่ 10 ไมโครเมตร (1 x 10-6 เมตร) ดังกราฟ เราเรียกรังสีที่โลกได้รับจากดวงอาทิตย์ว่า “คลื่นสั้น” (Short waves) และเรียกรังสีที่โลกแผ่ออกมาว่า (Long waves) เราสามารถคำนวณอุณหภูมิเฉลี่ยของพื้นผิวโลกได้โดยใช้กฎของวีน (Wein’s law) ตัวอย่างที่ 1: โลกแผ่รังสีอินฟราเรดขึ้นสู่อวกาศ ซึ่งความยาวคลื่นเข้มสุด 10 ไมโครเมตร อยากทราบว่า โลกมีอุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยเท่าไรλmax = 0.0029 / TT = 0.0029 / λmax= 0.0029 / (10 x 10-6 m)= 288 K หรือ 15°C ภาวะเรือนกระจก…