-
ประเภทของกาแล็กซี่
ในยุคก่อนที่มนุษย์มีความรู้เรื่องกาแล็กซี นักดาราศาสตร์คิดว่า กาแล็กซีอื่นๆ เช่น กาแล็กซีแอนดรอมีดาคือ เนบิวลา เพราะปรากฏเป็นฝ้าสว่างขาวในกล้องโทรทรรศน์เช่นเดียวกับเนบิวลาทั่วๆ ไป นั่นหมายถึง พวกเขาคิดว่า กาแล็กซีเหล่านั้นเป็นวัตถุภายในกาแล็กทางช้างเผือก จนกระทั่ง ค.ศ.1923 เอ็ดวิน ฮับเบิล นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน ได้ทำการวิเคราะห์ภาพถ่ายของเนบิวลาแอนดรอมีดา และพบว่ามีดาวแปรแสงแบบเซฟิด (Cepheid Variables) อยู่ข้างใน จึงทำการคำนวณหาระยะห่างจากโลก พบว่า ดาวเซฟิดเหล่านั้นมีกำลังส่องสว่างมากกว่า 10,000 เท่าของดวงอาทิตย์ (ดังที่แสดงในภาพที่ 1) ซึ่งหมายความว่าเนบิวลา joker123 การคำนวณหาระยะทางของกาแล็กซีแอนดรอมีดา อยู่ห่างจากโลกถึง 900 กิโลพาร์เสค หรือ 2.9 ล้านปีแสง มันจึงเป็นวัตถุนอกทางช้างเผือก และเมื่อคำนวณขนาดเชิงมุมพบว่า มีขนาดใหญ่ถึง 70 กิโลพาร์เสค ดังนั้นจึงเป็นระบบที่ใหญ่มากกว่ากาแล็กซีทางช้างเผือกเสียอีก ตั้งแต่นั้นมานักดาราศาสตร์จึงเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น กาแล็กซีแอนโดรเมดา (Andromeda Galaxy) ตัวอย่าง : เป็นที่ทราบอยู่แล้วว่า ธรรมชาติของดาวแปรแสงแบบเซฟีด Type I ที่มีคาบการแปรแสง 42 วัน จะมีกำลังส่องสว่างเฉลี่ย 33,000 เท่าของดวงอาทิตย์ นักดาราศาสตร์ตรวจพบดาวแปรแสงแบบเซฟีดในกาแล็กซี IC 4182 มีความสว่างปรากฏ +22.0 มีแมกนิจูดสัมบูรณ์เฉลี่ย -6.5 จึงสามารถคำนวณระยะห่างของกาแล็กซีได้ โดยอาศัยค่า Distance modulus หรือผลต่างของแมกนิจูดปรากฏและแมกนิจูดสัมบูรณ์ของดาวเซฟีดได้ m – M = (22.0) – (-6.5) = 22.0 + 6.5 = 28.5 m – M = 5 log d – 5 หรือ d = 10(m – M + 5) / 5 parsecs = 10(28.5 + 5) / 5…