
อาร์มสตรอง
เรือโท นีล ออลเดน อาร์มสตรอง (อังกฤษ: Neil Alden Armstrong; 5 สิงหาคม ค.ศ. 1930 — 25 สิงหาคม ค.ศ. 2012) เป็นนักบินอวกาศชาวอเมริกัน และเป็นมนุษย์ที่ได้ชื่อว่าเหยียบพื้นผิวดวงจันทร์คนแรกของโลก
ประวัติ
นีล อาร์มสตรอง เกิดที่เมืองวาปาโคเนตา รัฐโอไฮโอ ชื่นชอบเรื่องการขับเครื่องบินมาตั้งแต่ยังเด็กๆ เรียนการขับเครื่องบินครั้งแรกเมื่อตอนอายุ 15 ปีแล้วได้รับใบอนุญาตนักบินเมื่อตอนอายุ 16 ปี และเป็นนักบินทดสอบให้กับองค์การนาซามาก่อน เขาได้รับคัดเลือกเป็นนักบินอวกาศเมื่อปี ค.ศ. 1962 และปฏิบัติภารกิจหลายภารกิจในโครงการเจมินีและโครงการอะพอลโล และยังเคยเป็นนักบินในกองทัพสหรัฐ ปฏิบัติภารกิจ 78 ครั้งในสงครามเกาหลี
ในปี ค.ศ. 1969 เขาเป็นผู้บัญชาการของโครงการอะพอลโล 11 ซึ่งมีเป้าหมายนำยานไปจอดบนดวงจันทร์ โดยสมาชิกในทีมคือ เอ็ดวิน อัลดริน และไมเคิล คอลลินส์
เขากล่าวประโยคนี้เมื่อเหยียบลงบนพื้นผิวของดวงจันทร์
That’s one small step for [a] man, one giant leap for mankind.
นี่เป็นก้าวเล็ก ๆ ของชายคนหนึ่ง แต่เป็นก้าวกระโดดครั้งยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ[1]
วันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 2012 อาร์มสตรองได้เสียชีวิตในซินซินนาติ รัฐโอไฮโอ[2] ขณะอายุได้ 82 ปี เนื่องด้วยภาวะแทรกซ้อนภายหลังการผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ บารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐได้กล่าวยกย่องอาร์มสตรองว่าเป็น “บุรุษชาวอเมริกันผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด ไม่เพียงแค่ในช่วงเวลาของเขาเท่านั้น แต่เป็นตลอดกาล”[3]
การเยือนประเทศไทย
นีล อาร์มสตรอง เคยเดินทางมาเยือนประเทศไทย และ หนึ่งในสถานที่มาเยือนนั้นคือที่ โรงเรียนสิรินธร จังหวัดสุรินทร์ ในต้นฤดูฝน ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) มีนักเรียนชื่อ อรนุช ภาชื่น และ พรเพ็ญ เพียรชอบ และเพื่อนรวม 6 คน ได้เขียนจดหมายเป็นภาษาอังกฤษส่งไปยังนีล อาร์มสตรอง ซึ่งแปลความเป็นภาษาไทยได้ว่า “เราต้องการรู้เรื่องราวเกี่ยวกับอะพอลโล 11 และคิดว่านักบินอวกาศจะเป็นผู้สามารถเล่าให้เราฟังได้มากที่สุดและดีที่สุด” ในที่สุดก็ประสบผลสำเร็จ หลังการประสานงาน เมื่อสำนักงานข่าวสารอเมริกัน ก็บรรจุโรงเรียนสิรินธร จังหวัดสุรินทร์ ไว้ในรายการเยือนประเทศไทยอีกจุดหนึ่งด้วย โดยในเดือนกรกฎาคม ปี 1969 (พ.ศ. 2512) นีล อาร์มสตรอง กลับจากดวงจันทร์ไม่นาน ก็ได้มายืนถ่ายรูปกับครูและนักเรียน ณ โรงเรียนประจำจังหวัดในภาคอีสาน นามว่า “ร.ร.สิรินธร จ.สุรินทร์” [4]
ในการเดินทางมายังประเทศไทยอย่างเป็นทางการนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น ตริตราภรณ์ช้างเผือก ให้แก่เขาด้วย
ความหลงใหลในด้านการบินของ อาร์มสตรอง เริ่มต้นขึ้นตอนเขาอายุได้ 6 ขวบ ซึ่งตอนนั้นเขามักเลี่ยงไม่ไปโรงเรียนสอนศาสนาในวันอาทิตย์เพื่อไปนั่งเครื่องบินกับพ่อ และมักขลุกอยู่กับหนังสือและนิตยสารเกี่ยวกับการบิน รวมทั้งการต่อแบบจำลองเครื่องบิน จนเมื่ออายุได้ 16 ปีเขาก็ได้ใบอนุญาตนักบินส่วนบุคคล ก่อนที่จะขับรถเป็นเสียอีก
ในปี 1947 อาร์มสตรอง เริ่มศึกษาเรื่องการบินอย่างเป็นทางการ โดยเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยเพอร์ดู ในรัฐอินเดียนา ในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งช่วงนั้นนับเป็นช่วงเวลาที่การบินมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก โดยเป็นช่วงที่ ชัค ยีเกอร์ นักบินกองทัพอากาศสหรัฐฯ ขับเครื่องบินความเร็วเหนือเสียงลำแรกที่ชื่อ Bell X-1
การมาถึงของเครื่องบินที่ขับเคลื่อนด้วยพลังจรวดได้เปิดยุคใหม่ของการบินที่นักบินจะต้องเป็นวิศวกรที่สามารถทดสอบเครื่องบินทดลองในขณะที่บินได้ด้วย และจากความรู้ความสามารถ รวมทั้งประสบการณ์การบินในช่วงสงครามเกาหลีทำให้ อาร์มสตรอง ได้เข้าร่วมทำงานกับคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านการบินแห่งชาติสหรัฐฯ (นากา) ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (นาซา) และได้ประจำอยู่ที่ฐานทัพอากาศเอ็ดเวิร์ดส์ ในปี 1955
ในช่วงนั้น อาร์มสตรอง ทำหน้าที่เป็นนักบินทดสอบตั้งแต่เครื่องบินทิ้งระเบิด เครื่องบินจรวด ไปจนถึงเครื่องจำลองการบินแห่งอนาคต นอกจากนี้ยังได้ฝึกการบินแตะขอบอวกาศด้วยเครื่องบิน x-15 รวมทั้งได้ร่วมงานในโครงการเครื่องบินอวกาศ Dyna-Soar
ในปี 1962 องค์การนาซาประกาศรับสมัครนักบินอวกาศชุดใหม่ และเมื่อครบกำหนดปิดรับสมัครในวันที่ 1 มิ.ย. ก็มีผู้สนใจส่งใบสมัคร 253 คน แต่ 1 สัปดาห์ให้หลัง ผู้เชี่ยวชาญจากฐานทัพอากาศเอ็ดเวิร์ดส์ได้แอบใส่ใบสมัครของ อาร์มสตรอง เข้าไปรวมกับผู้สมัครอื่น ๆ ก่อนถึงการประชุมครั้งแรกของคณะกรรมการคัดเลือกผู้สมัครของนาซา เพราะเชื่อมั่นว่า อาร์มสตรอง มีศักยภาพในการเป็นนักบินอวกาศ ซึ่งต่อมาเขาก็ได้รับคัดเลือกในวันที่ 17 ก.ย. ปีเดียวกันนั้น ให้เป็น 1 ใน 9 นักบินอวกาศรุ่นใหม่ของนาซา อันเป็นจุดเริ่มต้นที่นำเขาไปสู่การสร้างประวัติศาสตร์เป็นมนุษย์คนแรกที่ได้เหยียบพื้นผิวดวงจันทร์ ด้วยยานอะพอลโล 11 เมื่อวันที่ 20 ก.ค. 1969
นีล ออลเดน อาร์มสตรอง (อังกฤษ: Neil Alden Armstrong; 5 สิงหาคม พ.ศ. 2473 — 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555) เป็นนักบินอวกาศชาวอเมริกัน และเป็นมนุษย์ที่ได้ชื่อว่าเหยียบพื้นผิวดวงจันทร์คนแรกของโลก
นีล อาร์มสตรองเกิดที่ ที่เมืองวาปาโคเนตา รัฐโอไฮโอ ชื่นชอบเรื่องการขับเครื่องบินมาตั้งแต่ยังเด็กๆ เรียนการขับเครื่องบินครั้งแรกเมื่อตอนอายุ 15 ปีแล้วได้รับใบอนุญาตนักบินเมื่อตอนอายุ 16 ปี และเป็นนักบินทดสอบให้กับองค์การนาซามาก่อน เขาได้รับคัดเลือกเป็นนักบินอวกาศเมื่อปี พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) และปฏิบัติภารกิจหลายภารกิจในโครงการเจมินีและโครงการอะพอลโล และยังเคยเป็นนักบินในกองทัพสหรัฐ ปฏิบัติภารกิจ 78 ครั้งในสงครามเกาหลี
พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) เขาเป็นผู้บัญชาการของโครงการอะพอลโล 11 ซึ่งมีเป้าหมายนำยานไปจอดบนดวงจันทร์ โดยสมาชิกในทีมคือ เอ็ดวิน อัลดริน และไมเคิล คอลลินส์
เขากล่าวประโยคนี้เมื่อเหยียบลงบนพื้นผิวของดวงจันทร์
That’s one small step for [a] man, one giant leap for mankind.
นี่เป็นก้าวเล็ก ๆ ของชายคนนึง แต่เป็นก้าวกระโดดครั้งยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ
วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555 อาร์มสตรองได้เสียชีวิตในซินซินนาติ รัฐโอไฮโอขณะอายุได้ 82 ปี เนื่องด้วยภาวะแทรกซ้อนภายหลังการผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ ซึ่ง บารัก โอบามา
ประธานาธิบดี อเมริกา ได้กล่าวยกย่องอาร์มสตรองว่าเป็น “บุรุษชาวอเมริกันผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด ไม่เพียงแค่ในช่วงเวลาของเขาเท่านั้น แต่เป็นตลอดกาล”
อยู่ประเทศไทย
นีล อาร์มสตอง เคยเดินทางมาเยือนประเทศไทย และ หนึ่งในสถานที่มาเยือนนั้นคือที่ โรงเรียนสิรินธร จังหวัดสุรินทร์ ในต้นฤดูฝน พ.ศ.2512 มีนักเรียนชื่อ อรนุช ภาชื่น และ เพ็ญพร เพียรชอบ และเพื่อนรวม 6 คน ได้เขียนจดหมายเป็นภาษาอังกฤษส่งไปยัง นีล อาร์มสตอง ซึ่งแปลความเป็นภาษาไทยได้ว่า “เราต้องการรู้เรื่องราวเกี่ยวกับอพอลโล11 และคิดว่า นักบินอวกาศจะเป็นผู้สามารถเล่าให้เราฟังได้มากที่สุดและดีที่สุด” ในที่สุดก็ประสบผลสำเร็จ หลังการประสานงาน เมื่อสำนักงานข่าวสารอเมริกัน ก็บรรจุ โรงเรียนสิรินธร จังหวัดสุรินทร์ ไว้ในรายการเยือนประเทศไทยอีกจุดหนึ่งด้วย โดยในเดือนกรกฎาคม ปี 2512 นีล อาร์มสตรอง กลับจากดวงจันทร์ไม่นาน ก็ได้มายืนถ่ายรูปกับครูและนักเรียน ณ โรงเรียนประจำจังหวัดในภาคอีสาน นามว่า “ร.ร.สิรินธร จ.สุรินทร์ “

