
วิวัฒนาการของจรวดหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
นตอนท้ายของสงครามโลกครั้งที่สองได้มีการแข่งขันทางทหารและทางวิทยาศาสตร์ระหว่างรัสเซีย, อังกฤษและสหรัฐอเมริกา ทีมงานมีการแข่งขันกันจับเทคโนโลยีทางด้านนี้และได้มีการฝึกอบรมบุคลากรจากโครงการจรวดของเยอรมันที่เมืองพีนเมนด์ (Peenemünde) ซึ่งเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเยอรมนีบนเกาะเล็ก ๆ ห่างจากชายฝั่งทะเลบอลติก ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองมันเป็นสถานที่หลักของการวิจัยและการทดสอบจรวดของเยอรมัน รัสเซียและสหราชอาณาจักรมีความสำเร็จบางส่วน แต่สหรัฐอเมริกานั้นได้รับประโยชน์มากที่สุด
สหรัฐอเมริกาได้จับกุมนักวิทยาศาสตร์ด้านจรวดของเยอรมันเอาไว้เป็นจำนวนมาก, รวมทั้งวอน บรานน์ด้วย และได้นำพวกเขาทั้งหมดไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการที่มีชื่อว่า “ปฏิบัติการมืดครึ้ม” (Operation Overcast) [60] ในอเมริกา, จรวดแบบเดียวกันกับที่ได้รับการออกแบบให้ทำการยิงกระหน่ำเข้ามาใส่สหราชอาณาจักรนั้น ได้ถูกนำมาใช้แทนที่โดยนักวิทยาศาสตร์เพื่อให้เป็นยานพาหนะสำหรับการวิจัยเพื่อการพัฒนาทางเทคโนโลยีใหม่ ๆ ต่อไป จรวด V-2 นั้นได้ถูกพัฒนาไปเป็นจรวดเรดสโตนของอเมริกัน (Redstone rocket), ที่ใช้ในโครงการอวกาศในช่วงต้น [61]
หลังสงคราม, จรวดถูกนำมาใช้ในการศึกษาสภาพของบรรยากาศชั้นสูง, อุณหภูมิและความดันของบรรยากาศโดยการควบคุมระยะไกลด้วยคลื่นวิทยุหรือการโทรมาตร, การตรวจหารังสีคอสมิก, และการวิจัยเพิ่มเติม; โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเครื่องเบลล์ เอ็กซ์-1 (Bell X-1) ซึ่งเป็นเครื่องบินที่มีมนุษย์ควบคุมเป็นเครื่องแรกที่สามารถจะบินด้วยความเร็วจนทำลายกำแพงเสียงลงได้ เครื่องนี้ยังคงได้รับการทดสอบอยู่ในสหรัฐอเมริกาภายใต้การดูแลของวอนบรานน์และคนอื่น ๆ, ที่ได้ถูกกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนทางวิทยาศาสตร์แห่งสหรัฐอเมริกา (the US scientific community)
ด้วยการดำเนินการอย่างเป็นอิสระ, ในการวิจัยโครงการอวกาศของสหภาพโซเวียต (Soviet Union’s space program) นั้นก็ได้ถูกดำเนินการให้มีความเป็นไปอย่างต่อเนื่องภายใต้การนำของหัวหน้านักออกแบบคนหนึ่งที่ชื่อ เซอร์ไก โคโรเลฟ (Sergei Korolev) [62] ด้วยความช่วยเหลือของบรรดาช่างเทคนิคของเยอรมัน, จรวด วี-2 ได้รับการคัดลอกและปรับปรุงให้กลายเป็นขีปนาวุธแบบอาร์-1 (R-1), อาร์-2 (R-2), และ อาร์-5 (R-5) การออกแบบของเยอรมันนั้นได้ถูกทอดทิ้งลงในปลายปี ค.ศ. 1940 และเหล่าแรงงานต่างชาติทั้งหมดก็ได้ถูกส่งกลับบ้าน
เครื่องยนต์รุ่นใหม่ ๆ ถูกสร้างขึ้นโดยกลูสโก และอยู่บนพื้นฐานของการประดิษฐ์คิดค้นของนักวิทยาศาสตร์อีกคนหนึ่งที่ชื่อว่า อีเล็กซี โมไฮเลิฟวิช ไชซีฟ (Aleksei Mihailovich Isaev) เป็นรูปแบบขั้นพื้นฐานของขีปนาวุธข้ามทวีป ICBM แบบ อาร์-7 (R-7) [63] รุ่นแรก ๆ จรวดแบบอาร์-7 ได้ถูกนำไปใช้สำหรับในการนำส่งดาวเทียมสปุตนิก 1 ขึ้นสู่ห้วงอวกาศได้สำเร็จเป็นครั้งแรกและต่อมา ยูริ กาการิน-มนุษย์คนแรกที่ได้ขึ้นไปสู่อวกาศ, และการส่งยานสำรวจดวงจันทร์และดาวเคราะห์ต่าง ๆ เป็นครั้งแรก จรวดรุ่นนี้ยังคงถูกใช้งานอยู่จนถึงทุกวันนี้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเหล่านี้มีชื่อเสียงดึงดูดความสนใจจากนักการเมืองชั้นนำพร้อมกับเงินทุนเพิ่มเติมสำหรับการวิจัยต่อไป
ปัญหาหนึ่งที่ยังไม่เคยได้รับการแก้ไขเกี่ยวกับจรวดคือ การกลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ (atmospheric reentry) โลกของจรวด มันได้ถูกแสดงให้เห็นแล้วว่า ในการโคจรของยานอวกาศในวงโคจรในชั้นบรรยากาศนั้นจะมีพลังงานจลน์ที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่เกิดขึ้นมากพอในขนาดที่จะทำให้เกิดความร้อนถึงขั้นที่จะระเหยตัวยานให้กลายเป็นไอได้อย่างง่ายดาย, และยังเป็นที่รู้จักกันดีว่าสามารถทำให้อุกกาบาตร่วงเป็นลูกไฟตกลงสู่พื้นดินได้ ความลึกลับนี้ได้รับการแก้ไขในสหรัฐอเมริกาในปี 1951 เมื่อ เอช จูเลียน อัลเลน (H. Julian Allen)
และ เอ. เจ. เอ็กเกอร์ส, จูเนียร์. (A. J. Eggers, Jr.) แห่งคณะที่ปรึกษาด้านอวกาศแห่งชาติ (National Advisory Committee for Aeronautics) (NACA) ได้ค้นพบ[64] ว่า รูปทรงของยานอวกาศที่มีรูปทรงแบบทู่ ๆ (แรงฉุดลากสูง) มีความเหมาะสมที่จะเป็นเกราะป้องกันความร้อนที่มีประสิทธิภาพได้มากที่สุด ด้วยรูปทรงแบบนี้ประมาณ 99% ของพลังงานความร้อน จะถูกถ่ายโอนกลับไปสู่อากาศโดยรอบ มากกว่าจะไหลเข้าสู่ผิวของอากาศยานนั้น ๆ และนี่จึงทำให้สามารถปกป้องความปลอดภัยให้ยานอวกาศในขณะที่กำลังเคลื่อนที่อยู่ในวงโคจรได้
การค้นพบของอัลเลนและเอ็กเกอร์ส, แม้ว่าจะได้รับการปกปิดไว้เป็นความลับทางการทหารในตอนแรก ๆ, ในที่สุดก็ได้ถูกตีพิมพ์เผยแพร่ออกสู่สาธารณชนในปี 1958 [65] ทฤษฎีตัวถังรูปทรงแบบทู่ ๆ นี้ทำให้การออกแบบเกราะป้องกันความร้อนเกิดเป็นตัวเป็นตนเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาได้จากการนำไปใช้กับยานแคปซูลอวกาศในโครงการเมอคิวรี (Mercury program) และแคปซูลอวกาศอื่น ๆ และเครื่องบินอวกาศทั้งหลาย ช่วยทำให้นักบินอวกาศได้มีชีวิตอยู่รอดปลอดภัยขณะที่ตัวยานกำลังลุกโชนเป็นลูกไฟในขณะที่กำลังกลับเข้ามาสู่ชั้นบรรยากาศของโลก
จรวดแบบ R-7 8K72 “วอสตอก” ถูกจัดแสดงอย่างถาวรในงานแสดงสินค้าที่กรุงมอสโกที่ เขตออสตังคิโน (Ostankino District); จรวดจะถูกจับยึดอยู่ในตำแหน่งของมันโดยพาหนะรถไฟซึ่งจะติดตั้งอยู่บนคานทั้งสี่แนวทแยงมุมที่ประกอบด้วยแท่นที่เป็นที่จัดการแสดง ที่นี่พาหนะรถไฟได้เอียงจรวดให้ได้เที่ยงตรงที่สุดเท่าที่จะทำได้กลายเป็นโครงสร้างของฐานยิงจรวด – ซึ่งขาดหายไปสำหรับการแสดงผลนี้

