
การแพร่ขยายของเทคโนโลยีจรวด
เทคโนโลยีจรวดกลายเป็นที่รู้จักกันเป็นครั้งแรกในชาวยุโรปโดยกษัตริย์มองโกล เจงกิสข่าน (Mongols Genghis Khan) และโอกีไดข่าน (Ögedei Khan) เมื่อครั้งที่สามารถพิชิตดินแดนส่วนหนึ่งของรัสเซีย ทางด้านตะวันออก และศูนย์กลางยุโรป ชาวมองโกลได้รับเทคโนโลยีมาจากชาวจีนโดยการมีชัยชนะในทางภาคเหนือของประเทศจีนและโดยการได้รับการว่าจ้างของผู้เชี่ยวชาญด้านจรวดชาวจีนที่เป็นทหารรับจ้างต่อกองทัพมองโกล รายงานจากการต่อสู้ของโมฮิ (Mohi) ในปี 1241 อธิบายถึงการใช้อาวุธจรวดโดย ทหารมองโกล ต่อ พวกแม็กยาร์ (Magyars)
เทคโนโลยีจรวดยังแพร่กระจายไปยังประเทศเกาหลีกับศตวรรษที่ 15 “กงล้อฮวาชา” (hwacha) ที่จะปล่อยจรวด “ซิงกิเจียน” (singijeon) นอกจากนี้การแพร่กระจายของเทคโนโลยีจรวดยังได้แพร่เข้ามาในยุโรปที่ได้รับอิทธิพลโดยจักรวรรดิออตโตมัน (Ottomans) ในการบุกโจมตีกรุงคอนสแตนติโนเปิล (Constantinople) ใน ปี 1453 แม้ว่าจะมีโอกาสมากที่พวกออตโตมันเองได้รับอิทธิพลโดยการรุกรานของมองโกลก่อนหน้านี้เพียงไม่กี่ศตวรรษ ประวัติศาสตร์ของจรวดนั้นได้ถูกเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต นาซา (NASA) กล่าวว่า “จรวดได้ปรากฏอยู่ในวรรณคดีอาหรับใน ค. ศ. 1258 บรรยายถึงการรุกรานของพวกมองโกลในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ในการเข้ายึดครองกรุงแบกแดด” [7] ระหว่างปี 1270 และ 1280,
ฮาซาน อัล-รามมาห์ (Hasan al – Rammah) เขียน al – furusiyyah wa al – manasib al – harbiyya (หนังสือเรื่อง ความชำนาญในการขี่ม้าของทหารและอุปกรณ์สงครามอันแยบยล) ซึ่งรวมถึง 107 สูตรดินปืน, 22 ชนิดที่มีสำหรับจรวด [12] ตามที่อาห์หมัด ฮัสซัน (Ahmad Y Hassan) กล่าวอ้าง, สูตรของ อัล-รามมาห์ เป็นมากกว่าวัตถุระเบิดที่เป็นจรวดที่ใช้ในประเทศจีนในเวลานั้น [13][แหล่งอ้างอิงอาจไม่น่าเชื่อถือ] คำศัพท์ที่ใช้โดย อัล รามมาห์ ที่ระบุไว้ว่าประเทศจีนเป็นแหล่งกำเนิดของอาวุธดินปืน เขาได้เขียนเกี่ยวกับ เช่น จรวดและหอกไฟ [14] อิบัน อัล เบทาร์ (Ibn al-Baytar),
ชาวอาหรับมาจากสเปนที่ได้อพยพไปยังอียิปต์, ได้ให้ชื่อเรื่องว่า “หิมะของจีน” (อาหรับ (Arabic) : ثلج الصين thalj al-Sin) เพื่ออธิบายถึงดินประสิว อัล เบทาร์ เสียชีวิตในปี 1248 [15][16] นักประวัติศาสตร์อาหรับก่อนหน้านี้เรียกดินประสิวว่า “หิมะจีน” และ “เกลือจีน” [17][18] นอกจากนี้ชาวอาหรับยังใช้ชื่อ “ลูกศรจีน” ในการอ้างถึงจรวด [19][20][21] [22][23][24][25] ชาวอาหรับที่ติดต่อกับ “ชาวจีน” ได้มีชื่อเรียกต่าง ๆ สำหรับวัตถุที่เกี่ยวข้องกับดินปืน “ดอกไม้จีน” เป็นชื่อสำหรับดอกไม้ไฟ, ในขณะที่ “หิมะจีน” ถูกกำหนดให้เป็นชื่อของดินประสิวและ “ลูกศรจีน” เป็นชื่อของจรวด [26] ในขณะที่ดินประสิวถูกเรียกว่า “หิมะจีน” โดยชาวอาหรับ, มันถูกเรียกว่า “เกลือจีน” โดยชาวอิหร่าน /ชาวเปอร์เซีย [27][28] [29][30][31]
จรวดได้ชื่อมาจากภาษาอิตาเลียน (Italian) Rocchetta (ตัวอย่างเช่น เจ้าฟิวส์น้อย (little fuse)), เป็นชื่อของพลุขนาดเล็กที่สร้างขึ้นโดยมูแรทโทรี (Muratori) ผู้ชำนาญงานชาวอิตาลีในปี 1379 [32]
คำว่า จรวด มาจากคำภาษาอิตาเลียน rocchetta , หมายถึง “กระสวย” หรือ “เดือยหมุนเล็ก ๆ “, [33] เพราะความคล้ายคลึงกันในรูปร่างที่เหมือนกับกระสวยหรือหลอดด้ายใช้สำหรับจับยึดเส้นด้ายเพื่อป้อนเส้นด้ายเข้าสู่กงล้อปั่นด้าย
เคยัสเซอร์ ได้หลงใหลกับตำนานของ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช: โดยในภาพวาดภาพหนึ่งทรงกำลังถือจรวดอยู่,
คอนเรด เคยัสเซอร์ (Konrad Kyeser) ได้อธิบายตำราจรวดที่มีชื่อเสียงในทางทหารของเขาที่ชื่อว่า Bellifortis เมื่อราวปี 1405 [34]
ระหว่างปี 1529 และ 1556 คอนเรด ฮัส (Conrad Haas) ได้เขียนหนังสือซึ่งได้อธิบายเกี่ยวกับเทคโนโลยีจรวด, ที่เกี่ยวข้องกับการรวมกันของดอกไม้ไฟและเทคโนโลยีอาวุธ ต้นฉบับนี้ถูกค้นพบในปี 1961, ในบันทึกสาธารณะซีบีอู (บันทึกสาธารณะซีบีอู แวเรียที่ 2 374 (Varia II 374)) ผลงานของเขาได้กระทำกับทฤษฎีการเคลื่อนที่ของจรวดแบบหลายตอน, ทำการผสมเชื้อเพลิงที่แตกต่างกันสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงเหลวและได้นำเสนอครีบรูปทรงสามเหลี่ยมและหัวฉีดรูปทรงระฆัง [35]
เป็นเวลากว่าสองศตวรรษ, ที่ผลงานของขุนนางเครือจักรภพ แคซิเมียรซ์ สิมีนอร์วิคซ์ (Kazimierz Siemienowicz) “Artis Magnae Artilleriae Pars prima” (“ศิลปะที่ยอดเยี่ยมของปืนใหญ่, ส่วนแรก” หรือที่เรียกว่า “ศิลปะที่สมบูรณ์ของปืนใหญ่”), ถูกนำมาใช้ในยุโรปเพื่อเป็นคู่มือปืนใหญ่ขั้นพื้นฐาน [36] พิมพ์ครั้งแรกในอัมสเตอร์ดัมในปี 1650 มันถูกแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสในปี 1651, เยอรมันในปี 1676 ภาษาอังกฤษและภาษาดัตช์ในปี 1729 และโปแลนด์ในปี 1963 เป็นหนังสือที่เป็นมาตรฐานการออกแบบสำหรับการสร้างจรวด, ลูกไฟ, และอุปกรณ์ทำพลุอื่น ๆ ประกอบไปด้วยบทความขนาดยาวหลายหน้า กล่าวถึงการสร้าง, การผลิต, และคุณสมบัติของจรวด (สำหรับวัตถุประสงค์ทั้งในทางทหารและพลเรือน) รวมทั้งจรวดแบบหลายตอน, แบตเตอรี่ของจรวด, และจรวดที่มีปีกรูปสามเหลี่ยมที่ใช้เพื่อการรักษาทิศทางการทรงตัว (ใช้แทนแท่งสำหรับนำทางธรรมดา)
ลาการี เฮซัน เซเลบี (Lagari Hasan Çelebi) เป็นนักบินชาวเติร์กในตำนาน (legendary Ottoman), ตามบัญทึกที่เขียนโดย เอฟวริยา เซเลบี (Evliya Çelebi), ที่ทำให้เที่ยวบินจรวดที่บรรทุกนักบินอวกาศไปด้วยในครั้งนั้นประสบความสำเร็จ เอฟวริยา เซเลบี อ้างว่าว่าในปี 1633 ลาการี เฮซัน เซเลบี ได้ขับจรวดที่มี 7-ปีกใช้ดินปืน 50 okka (140 ปอนด์) จากเซเรเบิร์นนา (Sarayburnu), ณ จุดทางด้านใต้ของพระราชวังโทพคาปิ (Topkapı Palace) ในอิสตันบูล (Istanbul)
เที่ยวบินจรวดที่บรรทุกนักบินอวกาศลาการี เฮซัน เซเลบี (Lagâri Hasan Çelebis) ปรากฏในจารึกสมัยศตวรรษที่ 17
ปืนใหญ่จรวดทรงกระบอกโลหะ
ในปี ค.ศ. 1792 เป็นครั้งแรกที่จรวดใส่ปลอกเหล็กถูกพัฒนาสำเร็จและนำมาใช้โดย ฮีดดะ อาลี (Hyder Ali) และลูกชายของเขา สุลต่านทิพัล (Tipu Sultan), ซึ่งเป็นผู้ปกครองของอาณาจักรแห่งมัยซอร์ในประเทศอินเดียกับบริษัทอินเดียตะวันออกใหญ่ของอังกฤษ กองกำลังในช่วงสงครามแองโกล-มัยซอร์ (Anglo-Mysore Wars) ประเทศอังกฤษนั้นก็กระตือรือร้นสนใจในด้านเทคโนโลยีและการพัฒนาต่อไปในระหว่างช่วงศตวรรษที่ 19 จรวดของมัยซอร์ในช่วงเวลานี้นั้นได้พัฒนาก้าวหน้าไปมากขึ้นกว่าฝ่ายอังกฤษจากที่ได้เคยเห็นก่อนหน้านี้
ส่วนใหญ่เนื่องมาจากการใช้ท่อเหล็กสำหรับการบรรจุเชื้อเพลิงจรวด; สิ่งนี้ช่วยทำให้เกิดแรงผลักดันที่มากขึ้นและระยะทำการยิงที่ไกลขึ้นสำหรับจรวด (ช่วงระยะ 2 กิโลเมตรขึ้นไป) หลังจากความพ่ายแพ้ในที่สุดของทิพัลในสงครามมัยซอร์ครั้งที่สี่ (Fourth Anglo-Mysore War) และการเข้ายึดอาวุธจรวดเหล็กมัยซอร์, พวกเขาเป็นผู้มีอิทธิพลในการพัฒนาจรวดของอังกฤษ สร้างแรงบันดาลใจให้มีจรวดคองกรีฟ (Congreve rocket) ซึ่งถูกนำมาใช้ในเวลาต่อมาในสงครามนโปเลียน

